เป้าหมาย (Understanding Goal) : เข้าใจและเห็นคุณค่า “ลาย” ที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมและความเชื่อ ตลอดจนวิถีชีวิตของคนในแต่ละท้องถิ่น อีกทั้งสามารถนำลายต่างๆ มาปรับใช้และสร้างสรรค์ลงบนชิ้นงานของตนเองได้


week5

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถนำความรู้ที่ได้ มาประยุกต์ทำชิ้นงาน (สาน) ได้อย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งแก้ปัญหาจากการสร้างชิ้นงานได้อย่างหลากหลาย
Week
Input
Process  
Output
Outcome





5
23 - 27
พ.ย.
58





โจทย์ : ลายสาน
Key Questions :
- นักเรียนจะออกแบบวัสดุอุปกรณ์และประดิบฐ์งานจักสานอย่างไรให้ดูน่าสนใจและสามารถนำมาใช้งานได้?

เครื่องมือคิด :
·  Brainstorms : ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องมือ/อุปกรณ์งานจักสาน
·  Round Rubin : แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับงานจักสานที่ได้ค้นหามา
·  Jigsaw : ทำแผนที่บอกลักษณะพื้นที่และเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตและภูมิปัญญาในแต่ละภูมิภาคShow and Share : นำเสนอผลงานการจักสาน
·  Web : สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อ/อุปกรณ์ :
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- อินเทอร์เน็ต
- แท็ปเล็ต
- คลิปวีดีโอ วิธีผูกเชือกรองเท้า
- ใบมะพร้าว
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
- “ลักษณะพื้นที่ของแต่ละภูมิภาคในประเทศไทยเป็นอย่างไร?
- “เครื่องมืองานสานในแต่ละภูมิภาคเกี่ยวข้องอย่างไรกับวิถีชีวิตและภูมิปัญญาในท้องถิ่นนั้น?
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็น
ใช้ : นักเรียนแบ่งกลุ่มเป็น 6 กลุ่ม แบ่งตามกลุ่มละภูมิภาคในประเทศไทย เหนือ กลาง ใต้ ตะวันตก ตะวันออก และ ตะวันออกเฉียงเหนือ ทำแผนที่บอกลักษณะพื้นที่และเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตและภูมิปัญญาในแต่ละภูมิภาคนั้นๆโดยผ่านเครื่องมือคิด Jigsaw
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูนำใบมะพร้าวมาให้นักเรียนสังเกต
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
- “นักเรียนสังเกตุเห็นอะไรบ้าง?
- “นักเรียนรู้สึกอย่างไรบ้าง?
- “นักเรียนจะสร้างสรรค์ลวยลายสานจากใบมะพร้าวให้เกิดประโยชน์ได้ด้วยวิธีใดบ้าง?
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการสร้างสรรคืลวดลายสานจากใบมะพร้าวให้เกิดประโยชน์หรือมีรายได้
ใช้ : นักเรียนสานปลาตะเพียนด้วยใบมะพร้าว
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง : ครูทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวันอังคารที่ผ่านมา พร้องตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะสร้างสรรค์งานจักสานให้เกิดลวดลายที่น่าสนใจโดยใช้เศษวัสดุจากธรรมชาติและสิ่งที่เหลือใช้ให้กลายเป็นข้าวของเครื่องใช้ได้อย่างไรบ้าง?
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับประเภทและลายเครื่องจักสาน
- นักเรียนแบบกลุ่มค้นหาข้อมูลงานเครื่องจักสานในแต่ละภูมิภาคที่นักเรียนสนใจ
ใช้ : นักเรียนเขียนใบงานเกี่ยวกับขั้นตอนหรือวิธีการสานและเครื่องมือ/วัสดุ/อุปกรณ์ งานจักสานของกลุ่มตนเอง

วันศุกร์ (3 ชั่วโมง)
ชง : “ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะประดิบฐ์งานจักสานให้เกิดประโยชน์และลวดลายให้น่าสนใจได้อย่างไร?
ใช้ : นักเรียนลงมือประดิบฐ์งานจักสานของตนเอง พร้อมนำเสนอชิ้นงาน
ชง : ครูและนักเรียนทบทนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด
- “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?
- “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?
- “นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิติประจำวันได้อย่างไร?
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์นี้
ใช้ : นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามความสนใจของตนเอง


ชิ้นงาน
- การสานปลาตะเพียนด้วยใบมะพร้าว
- ทำแผนที่บอกลักษณะพื้นที่และเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตและภูมิปัญญาในแต่ละภูมิภาค
- ออกแบบและประดิบฐ์ชิ้นงานจักสานสาน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-   ค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือในการสร้างสรรค์งานจักสาน และนำเสนอ
-   วางแผนและออกแบบทำแผนที่บอกลักษณะพื้นที่และเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตและภูมิปัญญาในแต่ละภูมิภาค
-   ออกแบบชิ้นงาน งานจักสานพร้อมสร้างสรรค์ผลงาน และนำเสนอ

ความรู้
เข้าใจและสามารถนำความรู้ที่ได้ มาประยุกต์ทำชิ้นงาน (สาน) ได้อย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งแก้ปัญหาจากการสร้างชิ้นงานได้อย่างหลากหลาย
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน
- สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
- เก็บกวาด อุปกรณ์ ทุกครั้งหลังทำงานเสร็จ
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดสร้างสรรค์หัวข้อหน่วยที่อยากเรียนรู้
-  สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
ข้อมูลสิ่งที่อยากเรียนรู้เพื่อออกแบบกิจกรรม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
นักเรียนแต่ละคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและรับฟังทัศนะคติของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล
ทักษะการสื่อสาร
- มีความถูกต้องชัดเจนในการสื่อความหมายทั้งการพูด การเขียน และการแสดงออก
- เข้าใจและสามารถสรุปความรู้ คุณค่า ทัศนคติ จากสิ่งที่ได้ทำสิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ได้
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นหาข้อมูลที่ตนเองสนใจอยากเรียนรู้จากแหล่งต่างๆเช่น Internet ผู้รู้หรือ ห้องสมุดได้

คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติเชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ




ตัวอย่างกิจกรรม













ตัวอย่างชิ้นงาน








1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน (PBL) ร้อยเรื่องลวดลาย
    ในส่วนของสัปดานี้พี่ๆ ป.3 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของลักษณะพื้นที่และวิถีภูมิปัญญาของกลุ่มทางสังคมแต่ละภูมิภาค อาทิ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคตะวันตก ซึ่งพี่ให้ความสนใจเป็นอย่างมากเพราะจะได้เรียนรู้ลักษณ์พื้นที่ที่ไม่เคยรู้จักทั่วทั้งประเทศไทย และเพื่อให้การเรียนรู้เชื่อมโยงกับเรื่องราววิถีทางสังคมในภูมิภาคนั้นๆ งานลวดลายการสานเครื่องมือต่างๆแต่ละพื้นที่จะพาพี่ๆได้เข้าใจถึงความเชื่อมโยงกันกับการดำรงชีวิตของคนในสังคม พี่ๆทุกคนมีความสนใจและเข้าใจพพอสมควรโดยเฉพาะพี่ ต้นกล้าสามารถเชื่อมโยงมองเห็นภาพความสอดคล้องของเรื่องราววัฒนธรรมการใช้ชีวิตว่าเชื่อมโยงกับลวยลายการสานได้อย่างไร พี่ต้นกล้า : กล่าวถึงภาคเหนือมีการสานกะติบข้าว เพราะว่าพื้นที่นั้นมีการปลูกข้าวจึงมีการสานกะติบข้าวเพื่อใช้งานและใช้วัสดุไม่ใผ่ในการสานเนื่องจากพื้นที่เป็นภูเขามีป่าและต้นใผ่เป็นจำนวนมาก จากนั้นมีการสานปลาโดยใช้วัสดุใบมะพร้าวเพื่อเชื่อมโยงถึงภูมิปัญญาของคนสมัยก่อนที่ใช้สิ่งของที่มีอยู่รอบตัวในการสร้างสรรค์ของเล่นของใช้อย่างมีประโยชน์ จากนั้นให้พี่แบ่งกลุ่มช่วยกันคิดออกแบบผลงานเครื่องมือการสาน โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติและสิ่งของที่เหลือใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งพี่ๆทุกคนตั้งใจและกระตือรือร้นเป็นอย่างมากเพราะจะได้รังสรรค์งานการสานร่วมกันอย่างมีความหมาย

    ตอบลบ