เป้าหมาย (Understanding Goal) : เข้าใจและเห็นคุณค่า “ลาย” ที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมและความเชื่อ ตลอดจนวิถีชีวิตของคนในแต่ละท้องถิ่น อีกทั้งสามารถนำลายต่างๆ มาปรับใช้และสร้างสรรค์ลงบนชิ้นงานของตนเองได้


week6

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับสังคม วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาที่เกี่ยวเนื่องให้เกิดลายแกะสลักตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์เป็นชิ้นงานที่สรรค์สร้างได้                   

Week
Input
Process  
Output
Outcome





6
30 - 04
พ.ย.
..
58





โจทย์ : ลายแกะสลัก
Key Questions :
ลวดลายงานแกะสลักมีความสำคัญและเกี่ยวข้องอย่างไรกับวิถีชีวิตของคนภาคกลางและตะวันตก?

เครื่องมือคิด :
·  Brainstorms : ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการนำเสนอเป็นเรื่องราว ละครฯ
·  Round Rubin : แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับงานลายแกะสลักค้นหามา
·  Show and Share : นำเสนอผลงานการแสดงที่ตนเองออกแบบ
·  Web :สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
- ครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง
สื่อ/อุปกรณ์:
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- อินเทอร์เน็ต
- แท็ปเล็ต
- รูปภาพ
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง :  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
- “นักเรียนคิดว่าการแกะสลักผลไม้สามารถนำวัสดุอะไรมาทำได้บ้าง และทำเป็นอะไรได้บ้าง?
- “นักเรียนคิดว่างานแกะสลักผลไม้เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในภาคกลางและตะวันตกอย่างไร?
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวัสดุที่นำมา และสิ่งของจากงานแกะสลักผลไม้
- วิทยากร (ผู้ปกครอง) ร่วมสร้างการเรียนรู้แลกเปลี่ยนเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัสดุที่สามารถนำมาแกะสลักได้ พร้อมแนะนำอุปกรณ์และวิธิขั้นตอนการแกะสลัก
ใช้ :
- นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากผู้ปกครองอาสา
- การบ้านนักเรียนศึกษาค้นหาเกี่ยวกับลายแกะสลักจากสถานที่เชื่อมโยงกับวิถีของคนในพื้นที่ภาคกลางและภาตะวันตก
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง : ครูให้นักเรียนสังเกตรูปภาพงานแกะสลักหินและแกะสลักผักผลไม้ของภาคกลางและภาคตะวันตก พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
-“นักเรียนสังเกตุเห็นอะไรบ้าง?
- “นักเรียนรู้สึกอย่างไรบ้าง?
- “นักเรียนคิดว่างานแกะสลักผักผลไม้และแกะสลักหินจะพบเห็นจากที่ใดและเหตุการณ์ใดได้บ้าง?
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็นจากรูปและความรู้สึก
ชง :
- ให้นักเรียนดูรูปภาพเทศกาลประเพณีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานแกะสลักของภาคกลางและตะวันตก เช่น ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ,แห่ผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์,ตรุษจีนปากน้ำโพ,งานแข่งเรือยาว พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
- “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?
- “นักเรียนรู้สึกอย่างไรบ้าง?
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็นจากรูปและความรู้สึก
ใช้ : ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 6 กลุ่มทำใบงานอธิบายเรื่องราวทาง ประเพณี วัฒนธรมม ศาสนา และงานแกะสลัก ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในภาคกลางและตะวันตก
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันอังคารที่ผ่านมา พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะนำเสนอผลงานให้น่าสนใจได้อย่างไรบ้าง?
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นร่วมกัน
ใช้ : นักเรียนคิดบทการแสดงและถ่ายทอดเรื่องราวจากสิ่งที่ได้เรียนรู้เป็น การแสดงละคร
วันศุกร์ (3 ชั่วโมง)
ชง :ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะนำเสนอเรื่องราวงานประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมภาคกลางและภาคตะวันตกได้อย่างไร?
ใช้ : นักเรียนนำเสนอเป็นการแสดง ละคร ฯ
ชง : ครูและนักเรียนทบทนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด
-“นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?
-“นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?
-“นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิติประจำวันได้อย่างไร?
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์นี้
ใช้ : นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามความสนใจของตนเอง








ชิ้นงาน
- ใบงานอธิบายลักษณะ ประเพณีของจังหวัดต่างๆเกี่ยวกับเรื่อง วิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากผู้ปกครองอาสา
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-   ค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับงานแกะสลักที่เชื่อมโยงกับวิถีของคนในพื้นที่ภาคกลางและ คิดนำเสนอเป็นเรื่องราว ละครฯ

ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับสังคม ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาที่เกี่ยวเนื่องให้เกิดลายแกะสลักตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์เป็นชิ้นงานที่สรรค์สร้างได้                  
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน
- สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
- เก็บกวาด อุปกรณ์ ทุกครั้งหลังทำงานเสร็จ
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดสร้างสรรค์หัวข้อหน่วยที่อยากเรียนรู้
-  สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
ข้อมูลสิ่งที่อยากเรียนรู้เพื่อออกแบบกิจกรรม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
นักเรียนแต่ละคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและรับฟังทัศนะคติของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล
ทักษะการสื่อสาร
- มีความถูกต้องชัดเจนในการสื่อความหมายทั้งการพูด การเขียน และการแสดงออก
- เข้าใจและสามารถสรุปความรู้ คุณค่า ทัศนคติ จากสิ่งที่ได้ทำสิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ได้
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นหาข้อมูลที่ตนเองสนใจอยากเรียนรู้จากแหล่งต่างๆเช่น Internet ผู้รู้หรือ ห้องสมุดได้

คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติเชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ



ตัวอย่างกิจกรรม
































ตัวอย่างชิ้นงาน







1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน (PBL) บูรณาการ
    ในสัปดาห์นี้พี่ ป.3 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับงานแกะสลักในส่วนของภาคกลางและภาคตะวันตกเกี่ยวกับงานแกะสลัดผลไม้ พี่ๆทุกคนต่างตื่นเต้นที่จะได้สร้างสรรค์งานแกะผลไม้ของตัวเองซึ่งในวันจันทร์ได้มีผู้ปกครองอาสามาร่วมการเรียนรู้งานแกะสลัดบรรยากาศการเรียนรู้เป็นไปอย่างสนุกสนาน รวมทั้งพี่ได้อิ่มอร่อยไปกับผลไม้ที่ผู้ปกครองนำมาด้วย นอกจากนี้ยังแฝงไปด้วยความรู้ที่ซ่อนอยู่ และพี่ๆทุกคนสามารถอธิบายความในของลวดลายที่ซ่อนอยู่งานแกะสลัก ตัวอย่างเช่น พี่น้ำตาล : งานแกะสลักเราจะพบเห็นอยู่ได้ในราชวังหลวงเป็นงานแกะของชาววัง ซึ่งวังหลวงหรือเมืองหลวงนั้นจะมีอยู่ในภาคกลายจึงจะพบได้เป็นส่วนใหญ่ และนอกจากนี้พี่ๆ ป.3 ได้ศึกษาเรียนรู้และค้นหาข้อมูลเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีของคนในสังคมพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก และเพื่อให้ได้เข้าใจถึงวิถีความเป็นอยู่คนสังคมนั้นๆพี่จึงได้ถ่ายทอดความรู้เป็นการแสดงละครเกี่ยวกับประเพณี ซึ่งพี่ทุกคนต่างกระตือรือร้นและตั้งใจเป็นอย่างมากที่จะนำเสนอเรื่องงานประเพณีของกลุ่มของตนเองให้น่าสนใจอย่างมีความหมาย

    ตอบลบ