เป้าหมาย (Understanding Goal) : เข้าใจและเห็นคุณค่า “ลาย” ที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมและความเชื่อ ตลอดจนวิถีชีวิตของคนในแต่ละท้องถิ่น อีกทั้งสามารถนำลายต่างๆ มาปรับใช้และสร้างสรรค์ลงบนชิ้นงานของตนเองได้


week 7


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายความเป็นมาของหนังตะลุงเชื่อมโยงสู่ สังคม วิถีชีวิต และภูมิปัญญาของชุมชนในภาคใต้ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์เป็นชิ้นงานที่สรรค์สร้างได้                  

Week
Input
Process  
Output
Outcome





7
07 - 11
..
58





โจทย์ : ลายแกะสลัก
Key Questions :
ลวดลายงานแกะสลักหนังตะลุงมีความสำคัญและเกี่ยวข้องอย่างไรกับวิถีชีวิตของคนในภูมิภาคใต้?

เครื่องมือคิด :
·    Brainstorms : ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการนำเสนอเป็นเรื่องราวการแสดงหนังตะลุง
·     Round Rubin : แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการแสดงหนังตะลุง
·  Show and Share : นำเสนอผลงานการแสดงที่ตนเองและการแสดงหนังตะลุงของกลุ่ม
·  Web :สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
- ครู
- นักเรียน
สื่อ/อุปกรณ์:
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- อินเทอร์เน็ต
- แท็ปเล็ต
- รูปภาพ
- คลิปวีดีโอหนังตะลุง
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง : ครูให้นักเรียนสังเกตคลิป หนังตะลุงพร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
- “นักเรียนสังเกตุเห็นอะไรบ้าง?
- “นักเรียนรู้สึกอย่างไรบ้าง?
- “คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องราวอะไรบ้างเกี่ยวกับหนังตะลุง?
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากคลิปวีดีโอ
ชง : “หนังตะลุงมีเรื่องราวเป็นมาอย่างไร/ที่ไหน/ภูมิภาคใดของประเทศไทย?
ใช้ : - นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เป็นการ์ตูนช่อง
- การบ้าน ค้นหาประเพณี วัฒนธรรม ที่จะนำมาถ่ายทอดในรูปแบบการทำหนังตะลุง
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “จากข้อมูลที่นักเรียนค้นหา
คิดว่าวัฒนธรรม ประเพณี ของภาคใต้เป็นอย่างไร?
เชื่อม :  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลที่ได้ค้นหา
ชง : ครูให้นักเรียนสังเกตรูปภาพงานแกะสลักหนังตะลุงภาคใต้ พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
·     นักเรียนสังเกตุเห็นอะไรบ้าง?
·    นักเรียนรู้สึกอย่างไรบ้าง?
·     นักเรียนคิดว่างานแกะสลักหนังตะลุงสามารถพบเห็นจากที่ใดและเกี่ยวข้องกับวิถีของคนในสังคมพื้นที่นั้นอย่างไรบ้าง?
เชื่อม :  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็นจากรูปและความรู้สึก
ใช้ : ครูให้นักเรียนสร้างสรรค์ตัวละครจากนิทานที่ค้นหาในแบบฉบับหนังตลุง
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในวันอังคารที่ผ่านมา พร้อมกระตุ้นคำถามการคิด นักเรียนจะถ่ายทอดเรื่องราววิถีชีวิต ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ประเพณี ของภาคใต้ให้น่าสนใจได้อย่างไรบ้าง?
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นร่วมกัน
ใช้ : นักเรียนซ้อมการแสดงในรูปแบบหนังตะลุง
วันศุกร์ (3 ชั่วโมง)
ชง :ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะถ่ายทอดเรื่องราวในรูปแบบหนังตะลุงให้น่าสนใจได้อย่างไร?
ใช้ : นักเรียนนำเสนอเป็นการแสดงในรูปแบบหนังตะลุง
ชง : ครูและนักเรียนทบทนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด
-“นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?
-“นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?
-“นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิติประจำวันได้อย่างไร?
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์นี้
ใช้ : นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามความสนใจของตนเอง



ชิ้นงาน
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เป็นการ์ตูนช่อง
-  สร้างสรรค์ตัวละครในแบบฉบับหนังตลุง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-   ค้นหานิทานหรือเรื่องราวที่จะนำมาถ่ายทอดในรูปแบบหนังตะลุง นำเสนอเป็นเรื่องราวในแบบฉบับหนังตลุง


ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายความเป็นมาของหนังตะลุงเชื่อมโยงสู่ สังคม วิถีชีวิต และภูมิปัญญาของชุมชนในภาคใต้ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์เป็นชิ้นงานที่สรรค์สร้างได้                  
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน
- สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
- เก็บกวาด อุปกรณ์ ทุกครั้งหลังทำงานเสร็จ
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดสร้างสรรค์หัวข้อหน่วยที่อยากเรียนรู้
-  สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
ข้อมูลสิ่งที่อยากเรียนรู้เพื่อออกแบบกิจกรรม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
นักเรียนแต่ละคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและรับฟังทัศนะคติของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล
ทักษะการสื่อสาร
- มีความถูกต้องชัดเจนในการสื่อความหมายทั้งการพูด การเขียน และการแสดงออก
- เข้าใจและสามารถสรุปความรู้ คุณค่า ทัศนคติ จากสิ่งที่ได้ทำสิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ได้
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นหาข้อมูลที่ตนเองสนใจอยากเรียนรู้จากแหล่งต่างๆเช่น Internet ผู้รู้หรือ ห้องสมุดได้

คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติเชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ

ตัวอย่างกิจกรรม













ตัวอย่างชิ้นงาน




1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน PBL (ร้อยเรื่องลวดลาย)
    ในส่วนของสัปดาห์นี้พี่ๆ ป.3 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวลวดลายที่ซ่อนอยู่ในวิถีสังคน ประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิ่นภาคใต้ จากการสังเกตของครูผู้สอนพบว่าพี่ๆทุกคนให้ความตั้งใจและสนใจเป็นอย่างมากดูจากความกระตือรือร้นในการทำงานของพี่ๆ มีความรับผิดชอบมากขึ้น สามารถทำงานให้ตรงตามเวลาที่ร่วมกันกำหนดไว้ และอีกให้ส่วนหนึ่งเนื่องจากในสัปดาห์นี้มีวันหหยุดบ่อยถึงสองวัน พี่ๆจึงมีเวลาเรียนรู้แค่สองวันเลยทำให้ต้องรวมเนื้อหาการเรียนรู้เข้ามาในสอนวันนั้นแต่โดยภาพรวมแล้วพี่ๆก็สามารถจัดการเวลาหน้าที่ความรับผิดชอบได้และสามารถถ่ายทอดงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีความหมายและน่าสนใจ (ในสัปดาห์นี้พี่ชินไม่ได้ร่วมการเรียนรู้เนื่องจากไม่สบายเลยไม่สามารถมาเรียนได้ตามปกติคุณครูและพี่ๆทุกคนจึงมีการทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้กับพี่ชินในภายหลังเพื่อที่จะสามารถร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันได้)

    ตอบลบ