เป้าหมาย (Understanding Goal) : เข้าใจและเห็นคุณค่า “ลาย” ที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมและความเชื่อ ตลอดจนวิถีชีวิตของคนในแต่ละท้องถิ่น อีกทั้งสามารถนำลายต่างๆ มาปรับใช้และสร้างสรรค์ลงบนชิ้นงานของตนเองได้


week4

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายความเป็นมาของลายจักสานแต่ละวัฒนธรรม ความเชื่อ เชื่อมโยงถึงภูมิปัญญา และ สังคมถิ่นฐานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

Week
Input
Process  
Output
Outcome





4
17 - 21
.
58





โจทย์ : ลายสาน
Key Question :  ลวดลายจักสานมีความสำคัญและเกี่ยวข้องอย่างไรกับวิถีชีวิตของคนในแต่ละท้องถิ่น?

เครื่องมือคิด :
·  Brainstorms : ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับจักสานในแต่ละภูมิภาค
·  Round Rubin : แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับจักสานที่ได้ค้นหามา
·  Jigsaw : ค้นหาจักสานที่สำคัญในแต่ละภูมิภาค
·  Show and Share : นำเสนอลายจักสานแต่ละภูมิภาค
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง
สื่อ/อุปกรณ์ :
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- คลิปวีดีโอ “สารคดีวิถีไทย ปราชญ์ชาวบ้าน ตอน จักสานพนัสนิคม
- ต้นกก และ อุปกรณ์ในการทอเสื่อกก
วันจันทร์( 2 ชั่วโมง )
ชง : ครูให้นักเรียนสังเกตคลิป “สารคดีวิถีไทย ปราชญ์ชาวบ้าน ตอน จักสานพนัสนิคม” พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
- “นักเรียนสังเกตุเห็นอะไรบ้าง?
- “นักเรียนรู้สึกอย่างไรบ้าง?
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็นจากคลิปและความรู้สึก
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้จักลายสานอะไรบ้าง นักเรียนเจอลายสานที่ไหน”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับลายจักสานต่างๆ
ใช้ : นักเรียนสานกล่องใส่ของจากวัสดุเหลือใช้(กล่องนม)
วันอังคาร( 2 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนทบบวกิจกรรมในวันจันทร์ที่ผ่านมา
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าการจักสานสามารถนำวัสดุอะไรมาทำได้บ้าง และทำเป็นอะไรได้บ้าง?
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวัสดุที่นำมาจักสาน และสิ่งของจากการจักสาน
- วิทยากร (ผู้ปกครอง) ร่วมสร้างการเรียนรู้แลกเปลี่ยนสนทนาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัสดุที่สามารถนำมาสานได้ เช่น กก พร้อมแนะนำอุปกรณ์และวิธีการทอเสื่อจาก กก
ใช้ :
- นักเรียนทอเสื่อกก
- การบ้าน นักเรียนค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับลวดลาย หรือ อุปกรณ์จักสานต่างๆของแต่ละภูมิภาค (เหนือ กลาง ใต้ ตะวันตก ตะวันออก และ ตะวันออกเฉียงเหนือ)
วันพฤหัสบดี( 1 ชั่วโมง )
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ในแต่ละภูมิภาคมีลวดลายจักสาน หรือ อุปกรณ์อะไรบ้าง?
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับลายสาน หรือ อุปกรณ์ของแต่ละภูมิภาคเชื่อมโยงสู่ภูมิปัญญา และสังคมนั้นๆ
ใช้ : นักเรียนสานกล่องใส่ของ ต่อจากวันจันทร์
วันศุกร์( 3 ชั่วโมง )
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ทำไมอุปกรณ์แต่ละชนิด เช่น กระด้ง หวด นึ่งข้าวเหนียว ถึงไม่ใช้ลวดลายในการสานลายเดียวกัน?
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับลวดลายของอุปกรณ์ต่างๆเชื่อมโยงสู่ภูมิปัญญา และ สังคมนั้นๆ (ต่อจากเมื่อวาน)
ชง : ครูและนักเรียนทบทนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด
- “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?
- “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?
- “นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิติประจำวันได้อย่างไร?
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์นี้
ใช้ : นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามความสนใจของตนเอง


ชิ้นงาน
- การสานกล่องใส่ของจากวัสดุเหลือใช้(กล่องนม)
- นักเรียนทอเสื่อกก
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- การบ้าน นักเรียนค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับลวดลาย หรือ อุปกรณ์จักสานต่างๆของแต่ละภูมิภาค (เหนือ กลาง ใต้ ตะวันตก ตะวันออก และ ตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมนำเสนอ


ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายความเป็นมาของลายจักสานแต่ละวัฒนธรรม ความเชื่อ เชื่อมโยงถึงภูมิปัญญา และ สังคมถิ่นฐานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
    
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน
- สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
- เก็บกวาด อุปกรณ์ ทุกครั้งหลังทำงานเสร็จ
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดสร้างสรรค์หัวข้อหน่วยที่อยากเรียนรู้
-  สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
ข้อมูลสิ่งที่อยากเรียนรู้เพื่อออกแบบกิจกรรม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
นักเรียนแต่ละคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและรับฟังทัศนะคติของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล
ทักษะการสื่อสาร
- มีความถูกต้องชัดเจนในการสื่อความหมายทั้งการพูด การเขียน และการแสดงออก
- เข้าใจและสามารถสรุปความรู้ คุณค่า ทัศนคติ จากสิ่งที่ได้ทำสิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ได้
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นหาข้อมูลที่ตนเองสนใจอยากเรียนรู้จากแหล่งต่างๆเช่น Internet ผู้รู้หรือ ห้องสมุดได้

คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติเชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ




ตัวอย่างกิจกรรม














ตัวอย่างชิ้นงาน




1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    ในส่วนของสัปดาห์นี้พี่ๆ ป. 3 ได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับลวดลายงานสาน ในวันแรกพี่ๆได้สร้างสรรค์งานสานโดยใช้วัสดุที่เหลือใช้เช่น กล่องนมมาประดิษฐ์เป็นกล่องเก็บเศษที่เหลาดินสอ ซึ่งพี่ๆทุกคนมีความกระตือรือร้นเป็นอย่างมากและสนุกกับสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง จากนั้นได้มีผู้ปกครองใจดีมาเสริมสร้างการเรียนรู้ให้กับพี่ๆ เกี่ยวกับงานสานจากการสานเสื่อจาก กก พี่ๆทุกคนดีใจและตื่นเต้นเป็นอย่างมากที่จะได้ลองทำลองปฏิบัติจริงเพราะพี่จะได้ทำลวดลายเองซึ่งมีผู้ปกครองคอยให้คำแนะนำ จากนั้นคุณครูได้ชวนพี่ทุกคนตั้งคำถามคนละหนึ่งคำถามเกี่ยวกับการเรียนรู้ในครั้งนี้จากผู้ปกครอง พี่แต่ละคนสามารถตั้งคำถามได้อย่างน่าสนใจ ยกตัวอย่างเช่น พี่โอ๊ด : ลวดลายที่สานเป็นลานอะไรและจะสามารถสร้างลายได้กี่ลวดลาย พี่อิ๋ง : สีที่นำมาสานมีสีอะไรและจะการผสมสีมาจากสิ่งไหนบ้าง จากนั้นพี่ๆได้จดบันทึกการเรียนรู้ ขั้นตอนวิธีการทำเสื่อจาก กก และสรุปการเรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์

    ตอบลบ