week 8
เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายประวัติความเป็นมาของวัฒนธรรม ประเพณี
ของงานบุญคูณลานเพื่อ เชื่อมโยงสู่ วิถีทางสังคม
อาชีพ และ ภูมิปัญญาของชุมชนในภาคตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
อีกทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์เป็นชิ้นงานที่สรรค์สร้างได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
8
14 - 18
ธ.ค.
58
|
โจทย์ : บุญคูณลาน
Key Questions :
- “งานบุญคูณลานเกี่ยวข้องอย่างไรกับวิถีชีวิต
วัฒนธรรม ประเพณี ของคนในท้องถิ่นนั้นๆ?”
เครื่องมือคิด :
· Brainstorms : ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการนำเสนอเป็นเรื่องราววัฒนธรรม ประเพณี
· Round
Rubin : แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการแสดงวัฒนธรรม ประเพณี
· Show
and Share : นำเสนอแผ่นชาร์ตใบงาน “บุญคูณลาน
· Web
:สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
- ครู
- นักเรียน
สื่อ/อุปกรณ์:
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- อินเทอร์เน็ต
- แท็ปเล็ต
|
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง : ครูนำข้าวเปลือกกับธงราวมาให้นักเรียนสังเกต พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
- “นักเรียนสังเกตุเห็นอะไรบ้าง?”
- “นักเรียนรู้สึกอย่างไรบ้าง?”
- “นักเรียนเคยเห็นสิ่งนี้จากที่ไหนมาบ้างและเกี่ยวข้องกับอะไรบ้างอย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้สังเกต
ใช้ :
การบ้าน นักเรียนแบ่งกลุ่มเป็น 5 กลุ่ม ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับประเพณี วัฒนธรรมงาน
“บุญคูณลาน” ของภาคตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือ ในเรื่องราวของที่มาและความสำคัญ,ขั้นตอนในพิธีกรรม,อาหาร,การแต่งการ,สิ่งของที่นำมาประกอบพิธีกรรม
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “จากข้อมูลที่นักเรียนค้นหา
คิดว่าวัฒนธรรม ประเพณี
ของภาคตะวันออก
และตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นอย่างไร?” พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด ประเพณี วัฒนธรรมงาน “บุญคูณลาน”
ของภาคตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือเป็นอย่างไรและเกี่ยวข้องกับเรื่องราววิถีชีวิต
ภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นอย่างไร?”
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลที่ได้ค้นหา
- “นักเรียนจะถ่ายทอดข้อมูลที่มีเกี่ยวกับงานบุญคูณลานในเรื่องราวของของที่มาและความสำคัญ,ขั้นตอนในพิธีกรรม,อาหาร,การแต่งการ,สิ่งของที่นำมาประกอบพิธีกรรม ให้น่าสนใจได้อย่างไรบ้าง?”
ใช้
:
- ครูให้นักเรียนทำแผ่นชาร์ตใบงานข้อมูลเกี่ยวกับงานพิธีกรรมบุญคูณลานที่นักเรียนได้ศึกษาและค้นหา
พร้อมนำเสนอข้อมูล
- การบ้าน นักเรียนเตรียมวัตถุดิบอุปกรณ์ในการทำขนมเทียน
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง
: ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในวันอังคารที่ผ่านมา
พร้อมกระตุ้นคำถามการคิด
“นักเรียนจะถ่ายทอดเรื่องราวข้อมูลสิ่งที่นักเรียนได้ค้นหาให้น่าสนใจได้อย่างไร?”
เชื่อม
: ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นร่วมกัน
ใช้ :
- นักเรียนนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประเพณี วัฒนธรรมงาน “บุญคูณลาน” ของภาคตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือ ในเรื่องราวของที่มาและความสำคัญ,ขั้นตอนในพิธีกรรม,อาหาร,การแต่งการ,สิ่งของที่นำมาประกอบพิธีกรรม
- นักเรียนร่วมกันทำขนมเทียน
วันศุกร์ (3 ชั่วโมง)
ชง : ครูและนักเรียนทบทนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด
-“นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-“นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?”
-“นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิติประจำวันได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์นี้
ใช้ : นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามความสนใจของตนเอง
|
ชิ้นงาน
- แผ่นชาร์ตใบงานข้อมูลเกี่ยวกับงานพิธีกรรมบุญคูณลานที่นักเรียนได้ศึกษาและค้นหา
พร้อมนำเสนอข้อมูล
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับประเพณี
วัฒนธรรมงาน “บุญคูณลาน” ของภาคตะวันออก
และตะวันออกเฉียงเหนือ ในเรื่องราวของที่มาและความสำคัญ,ขั้นตอนในพิธีกรรม,อาหาร,การแต่งการ,สิ่งของที่นำมาประกอบพิธีกรรม
พร้อมนำเสนอ
- นักเรียนเตรียมวัตถุดิบอุปกรณ์ในการทำขนมเทียนและร่วมกันทำขนม
|
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายประวัติความเป็นมาของวัฒนธรรม
ประเพณี ของงานบุญคูณลานเพื่อ เชื่อมโยงสู่ วิถีทางสังคม อาชีพ และ ภูมิปัญญาของชุมชนในภาคตะวันออก
และตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
อีกทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์เป็นชิ้นงานที่สรรค์สร้างได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
-
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
-
ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน
-
สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
-
เก็บกวาด อุปกรณ์ ทุกครั้งหลังทำงานเสร็จ
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
-
คิดสร้างสรรค์หัวข้อหน่วยที่อยากเรียนรู้
- สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
ข้อมูลสิ่งที่อยากเรียนรู้เพื่อออกแบบกิจกรรม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
นักเรียนแต่ละคน
ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและรับฟังทัศนะคติของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล
ทักษะการสื่อสาร
-
มีความถูกต้องชัดเจนในการสื่อความหมายทั้งการพูด การเขียน และการแสดงออก
-
เข้าใจและสามารถสรุปความรู้ คุณค่า ทัศนคติ
จากสิ่งที่ได้ทำสิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ได้
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นหาข้อมูลที่ตนเองสนใจอยากเรียนรู้จากแหล่งต่างๆเช่น
Internet
ผู้รู้หรือ ห้องสมุดได้
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ- เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
-
รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
|
บันทึกหลังการสอนบูรณาการ PBL
ตอบลบในส่วนของการเรียนรู้สัปดาห์นี้พี่ๆป.3 ได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับลลดลายวัฒนธรรมประเพณีของภูมิสังคมของคนในพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออก ซึ่งเป้นเรื่องราวที่มีเนื้อหาที่เชื่อมโยงถึงลวดลายต่างๆที่สอดแทรกไปด้วยวัฒนธรรมความเชื่อของวัฒนธรรมงานบุญคูณลาน พี่ๆป.3 ทุกคนต่างตื่นเต้นที่จะได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของความเชื่อพิธีบุญที่มีการสืบสานกันมาตั้งแต่โบราณ โดยพี่ๆได้แบ่งกลุ่มร่วมการเรียนรู้เพื่อนำมาถ่ายทอดเรื่องราวให้แก่กัน ยกตัวอย่างเช่น ความเป็นมา ขั้นตอนพิธีกรรม สิ่งของในพิธีกรรม รวมไปถีงอาหารและขนมที่ทำเพื่อใช้ในการประกอบพิธี การนั้นพี่ๆได้ค้นหาข้อมูลอย่างตั้งใจเพื่อที่จะได้ร่วมกันถ่ายทอดสิ่งที่กลุ่มตนเองรับผิดชอบจากนั้นนำเสนอผลงานที่มีความหมายและภาคภูมิใจ และเมื่อพี่ๆได้เรียนรู้ร่วมกันแล้วคุณครูได้พานักเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับการทำขนมที่มีข้าวเป้นส่วนประกอบหลักเพื่อเชื่อมโยงถึงงานพิธีบุญคูณลานพี่ๆทุกคนต่างกระตือรือร้นและตั้งใจเป้นพิเศษเพราะเนื้องจากจะได้เรียนรู้วิธีการทำขนมแล้วการกินก็เป็นสิ่งที่ดูจะขาดไม่ได้เช่นเดียวกันโดยเฉพาะพี่ลาร์ด พี่ชิน และพี่พี ที่ดูจะให้ความสนใจเป็นอย่างมาก รวมไปถึงตัวครูผู้สอนก็รู้สึกสนุกกับการเรียนรู้ในครั้งนี้เช่นเดียวกัน และในวันศุกร์พี่ๆได้เริ่มเขียนสรุปองค์ความรู้หลังเรียนใน Quarter 3 เพื่อเตรียมพร้อมกับการถ่ายทอดเรื่องราวสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอด Quarter ให้กับผู้อื่นได้อย่างมีความหมาย